กิจกรรมต่างๆ
2017
February
23
Work and Holiday Melbourne กับงานด้านสถาปัตย์
โดย : Adminstrator ( จำนวนผู้เข้าชม 21245 คน )

มันเริ่มจากเรารู้สึกว่ารู้สึกว่างานที่ทำอยู่มันมีข้อจำกัดบางอย่าง เราทำงานในบริษัทต่างชาติก็จริง แต่เพื่อนร่วมงานส่วนใหญ่ก็เป็นคนไทย เราเลยอยากเรียนรู้ อยากเจออะไรใหม่ๆ การทำงานระดับอินเตอร์ อยู่ในสังคมของชาวต่างชาติ อยากเรียนรู้ระบบความคิด การจัดการ อยากเปิดโลกให้ตัวเองว่ามันต่างกับที่ไทยอย่างไร

เนลให้สัมภาษณ์กับทาง Thaiwahclub เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของการเดินทางของเธอ สถาปนิกสาวคนไทยใน Melbourne ที่ได้งานทำในด้านที่เรียนปริญญาตรีมาจากที่ไทย 

เนลเล่าให้ทางเราฟังว่าเนลมีความถนัดและชอบในอาชีพนี้อยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะหางานด้านนี้ได้หรือไม่ เพราะก็ไม่ได้มั่นใจในภาษาอังกฤษของตัวเองมากนัก

 

ตอนแรกก็ไม่คิดจะเรียนภาษาเลย ตั้งใจว่าอยากเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านประสบการณ์มากกว่า เรามองว่าเราเลยวัยจะเรียน ภาษาอังกฤษพื้นฐาน แล้ว เรียนมาตั้งแต่เด็ก แต่ยังไม่ค่อยได้ใช้จริงเลย เลยคิดว่าลองไปตายเอาดาบหน้าดูแล้วกัน ลองหาข้อมูลดูว่าไปที่ไหนได้บ้าง พอดีมาเจอโครงการนี้ (Work and Holiday) และพอดีว่าพี่ชายอยู่ที่นี่ (Melbourne) ด้วย คุณแม่ก็เลยสบายใจที่จะให้เราทีเดินทางมาด้วยตัวเอง

 

หลังจากที่ยื่นเอกสารและได้รับวีซ่าเรียบร้อยแล้ว เนลก็ใช้เวลา เดือน

สุดท้ายในไทยในการส่ง portfolio และ Resume สมัครงานด้านสถาปัตย์ที่ตัวเองเรียนและทำงานมา เพราะไม่อยากทิ้งความฝันและงานด้านที่ตัวเองรัก แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ที่ไหนรับสมัครสักที เวลาก็หมดไปเรื่อยๆ ความหวังที่จะได้งานตั้งแต่ก่อนไป Melbourne ก็ดูน้อยลงไป

 

“เราคิดว่าเป็นเพราะตอนเรายังอยู่ที่ไทย ทำให้เขาติดต่อยากด้วย จนสุดท้ายเรารอไม่ไหว เลยตัดสินใจว่ามาก่อนแล้วค่อยหางานเอาทีหลัง ช่วงแรกๆก็คือยื่นใบสมัคร ส่งอีเมลล์ เดินเข้าไปสมัครตามออฟฟิศ (เรียกว่าทำทุกทาง) จนมาได้งานแรกอยู่แถว Caulfield เป็นสัญญา เดือน แต่ว่าไกลจากบ้านที่อยู่ตอนนั้นมาก ตอนนั้นก็คิดว่าทำเอาประสบการณ์ไปก่อน จนทำงานครบ เดือน เขาอยากจะต่อสัญญากับเรา แต่ว่าบริษัทที่ที่เราทำอยู่ปัจจุบันเขาเรียกสัมภาษณ์พอดี แล้วเขาเสนอเงินให้เยอะกว่า ใกล้บ้านมากกว่า แล้วตัวงานดูสนุกกว่าด้วย เราก็เลยตัดสินใจย้ายมาทำที่นี่แทน

งานในบริษัทที่เนลทำอยู่ปัจจุบันก็ยังคงเป็นงานด้านสถาปัตย์ที่ตัวเองชอบ โดยมีค่าแรงอยู่ที่ $27 ต่อชั่วโมง (729 บาทโดยประมาณโดยคุณเนลทำงานอยู่แผนก DesignDevelopซึ่งเนื้อหาในการทำงานคล้ายคลึงกับงานที่เคยทำที่ไทย แต่ว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องของโครงสร้างอาคาร ตรงกับความตั้งใจที่อยากจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และได้มีโอกาสทำงานกับเพื่อนร่วมงานชาวต่างชาติจริงๆ ซึ่งเมื่อทำงานครบตามเงื่อนไข เดือนของวีซ่า ทางบริษัทก็ยังอยากให้เนลทำงานต่อให้กับบริษัท

คิดว่าเขาคงเห็นอะไรในตัวนลซักอย่าง คืองานด้านนี้มันต้องพยายามนำเสนอตัวเอง เสนอความคิด อาจจะต่างจากงานด้านอื่นๆ ที่ทำงานตามระบบและขั้นตอนที่เป็นแบบแผน แต่เพราะงานดีไซน์มันคือต่างคนต่างความคิด แล้วคนที่ในออฟฟิศก็เป็นคนที่นี่ (ออสเตรเลีย) หมดเลย ถ้าเราไม่พยายามแสดงความสามารถก็อาจจะลำบาก

นายจ้างว่ายังไงต่อกันบ้างหลังหมดเวลา เดือนตามเงื่อนไขวีซ่ามีเสนอทางเลือกอะไรให้เรามั้ย?
 ตอนแรกเขาก็เสนอว่าจะช่วยทำ PR (Permanent Residency :สิทธิประชากรถาวรในประเทศออสเตรเลียให้ แต่เนลรู้สึกว่าภาษาอังกฤษเรายังดีไม่พอ เพราะการขอPR ที่นี้เราต้องสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปนิกของที่นี่ด้วย หรือถ้าเขาจะ Sponsor เรา ก็ไม่คุ้มกับที่บริษัทต้องมาเสียเงินเพื่อจ้างคนๆเดียวเป็นจำนวนเงินมากๆ 
สุดท้ายเราเลยตัดสินใจว่าจะต่อเป็นวีซ่านักเรียน เพราะอยากพัฒนาภาษาตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม ตั้งใจว่าจะใช้สมัครทุนและเรียนต่อปริญญาโท 
ที่ทำงานเขาก็ช่วยเราเยอะ ให้ทำพาร์ทไทม์เพื่อไปเรียนตามกติกาของวีซ่านักเรียน ทำให้เราสามารถเรียนและยังทำงานต่อได้

 

กลายเป็นว่าปัญหาแรกๆของการทำงานไม่ใช่เรื่องของภาษา แต่ว่าเป็นเรื่องวัฒนธรรมและทัศนคติในการทำงานที่ต่างกันของคนไทยและคนต่างชาติ

 

พอเขารู้ว่าเนลเป็นคนต่างชาติเขาก็พยายามทำความเข้าใจนะ คือตัวเนลเองอาจจะไม่ได้ภาษาอังกฤษมากจนเรียกว่าเก่ง แต่ในการทำงานนั้น
ภาษาของสถาปัตย์มันก็มีศัพท์เฉพาะที่เราใช้มาตั้งแต่ตอนเรียนจนมาทำงานเลยไม่ได้ลำบากมากนัก แต่ด้วยความที่ลักษณะนิสัยของเด็กไทยที่ส่วนใหญ่อาจจะขี้อาย ไม่ค่อยกล้าเสนอความคิด ไม่กล้าออกความเห็น เราก็เป็นคนหนึ่งที่เป็นแบบนี้ ตรงนี้ก็เลยอาจจะเป็นเรื่องแรกๆที่ต้องปรับตัวกันเยอะ

 คิดว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เด็กไทยส่วนหนึ่งไม่มั่นใจ ไม่กล้าแสดงความเห็นกันในที่ทำงาน เราเองเจอปัญหาแบบนี้มั้ยในการทำงานในออสเตรเลีย?

เท่าที่ทำงานมา สังคมไทยจะมีเรื่องของอายุ ความอาวุโส(seniority) เข้ามาคาบเกี่ยวด้วย ช่วงแรกตัวเนลเองก็ยังติดวัฒนธรรมองค์กรจากที่ไทยมาเลยจะไม่กล้าคอมเมนท์งานคนอื่นว่าดีหรือไม่ดียังไง แต่พอหลังๆปรับตัวได้ เพราะวัฒนธรรมที่นี่คือ ใครคิดแบบไหนก็เสนอออกมา แล้วสุดท้ายเราก็จะมาเลือกทางที่ดีที่สุดกัน แต่ถ้าเป็นที่ไทยคือบางทีเราเสนอความคิดเห็น จะดูเหมือนการเถียงผู้ใหญ่ 


เพื่อนๆในที่ทำงานมีส่วนช่วยในการปรับตัวมั้ย ยังไงบ้าง?

เพื่อนร่วมงานที่ออฟฟิศก็บอกว่าเราต้องแสดงความคิดเห็นนะ เราเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องแก่กว่าหรืออ่อนกว่า คนเรามีประสบการณ์มาไม่เหมือนกัน เจออะไรมาไม่เหมือนกัน หลังจากนั้นคือมั่นใจมากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็น เราว่าเป็นข้อเสียของเด็กไยที่ไม่กล้าเสนอความคิด เพราะว่าพอเราแสดงความคิดเห็นอะไร ส่วนใหญ่ก็ชอบบอกว่าผิด-ถูก แต่ที่นี่เขาจะประมาณว่า ความคิดเห็นคุณก็ดีนะแต่ว่าลองฟังความคิดเห็นของคนอื่นก่อน แล้วนำมาปรับเพื่อที่จะหาทางที่ดีที่สุด

 

นอกจากเรื่องของการปรับตัวในการทำงาน อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องของการใช้ชีวิต มีต้องปรับอะไรบ้าง?

ปรับตัวเยอะเหมือนกัน คนที่นี้ค่อนข้างมีโลกส่วนตัวสูง เช่น เวลากินข้าวก็คือกินของใครของมัน แยกกันไป เวลาทำงานก็จะเงียบ ไม่ค่อยเล่นกัน ทำงานคือทำงาน เล่นคือเล่น เพื่อนร่วมงานส่วนมากก็เป็นผู้ใหญ่กันแล้ว หลังเลิกงานก็กลับบ้านอยู่กับครอบครัว หรือต่อให้เราอยู่กับพี่ชายก็จริง แต่พี่ปล่อยให้เราใช้ชีวิตด้วยตัวเอง มันก็มีเหงาบ้าง แต่ก็ต้องพยายามใช้ชีวิตให้มีความสุขด้วยตัวเอง

 

เพราะว่าลงทุนกับตัวเองมาเยอะ ในอนาคตถ้าหากว่ามีโอกาสก็อยากจะลองไปที่ประเทศอื่นๆดูบ้าง?

คือการเรียนสถาปัตย์ต้นทุนค่อนข้างสูง พ่อแม่เราก็จ่ายมาให้ตลอด อย่างน้อยถ้าเราจะเรียนต่อ ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่อยากใช้ทุนพ่อแม่แล้ว ถ้าได้ทุนเรียนที่อื่น ก็อาจะจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย หรือถ้าจะต้องจ่ายเอง เราก็อาจจะเรียนต่อที่นี่อย่างน้อยเราก็มีงานทำระหว่างที่เราเรียนไปด้วย 

 

ท้ายที่สุดแล้วความตั้งใจคืออยากจะกลับบ้าน เพื่อไปทำอะไรให้บ้านเราดีขึ้น

ความตั้งใจสุดท้ายของเนลคือกลับไทย คือหลายคนบอกว่าจะกลับไปทำไม กลับไปก็ไม่ได้อะไร แต่ถ้าเราคิดแบบนั้นทุกคนมันบ้านเราก็จะไม่มีอะไรดีขึ้น คือเราอยากกลับไปเป็นอาจารย์พิเศษแล้วก็อยากมีออฟฟิศเล็กๆของตัวเอง เราสนใจ Urban design เรื่องการออกแบบผังเมือง เลยตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาโทด้านนี้ ตอนนี้เรามองว่าเราได้ออกมาเปิดโลก ดูสิ่งที่ดีๆ อยู่ในเมืองเจริญแล้ว อยากจะเรียนรู้ เก็บประสบการณ์ อย่างน้อยก็อยากกลับไปทำอะไรให้บ้านเราดีขึ้นบ้าง อยากเห็นเมืองไทยมีอะไรดีๆแบบที่นี้ด้วย

 

เรามองตัวเองว่าจะทำอะไรบ้างในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า (ระยะสั้นและอีก ปีข้างหน้า (ระยะยาว)

ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เนลวางแผนจะเรียนต่อปริญญาโท ด้านการออกแบบผังเมือง (Urban Design) และหลังจากเรียนจบคงกลับไทย ทำตามความตั้งใจที่อยากจะเป็นอาจารย์พิเศษ และเริ่มทำออฟฟิศของตัวเอง

 

ตอนนี้ชีวิตก็ค่อนข้างอยู่ตัวแล้ว ถ้าย้อนกลับไปมองคิดว่ามีช่วงไหนที่หนักที่สุดในการมาออสเตรเลีย?

 การได้เข้าไปทำงานที่เราชอบ และเราตั้งใจไว้ได้แล้ว เหมือนเราชนะตัวเองมาระดับหนึ่ง สำหรับเนลช่วงที่คิดว่าหนักที่สุดคือว่าคือช่วงการเริ่มต้นทำงาน ต้องเรียนรู้ ฝึกฝน ปรับตัว และผลักดันตัวเองเยอะมากๆ เราได้โอกาสมาแล้ว ต้องทำให้ดีที่สุด

 

ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่หนักอีกช่วงหนึ่ง เนื่องจากทำงานและเรียนไปด้วย ต้องแบ่งเวลาดีๆ เพื่อไม่ให้เสียทั้งเรื่องงานและเรื่องเรียน และที่สำคัญต้องมีเวลาพักผ่อนให้ตัวเองด้วยค่ะ (work life balance) 

ช่วงที่หางานไม่ได้มีท้อ มีกังวลบ้างไหน จัดการกับความกังวลนั้นอย่างไร?

เนลตั้งโจทย์ในการหางานของตัวเองค่อนข้างยาก กังวลไม่ใช่น้อย เรื่องการหางาน เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะได้เข้าไปทำงานในบริษัท อีกทั้งยังข้อจำกัดของวีซ่าที่กำหนดระยะเวลา การทำงานแค่ 6 เดือน แต่ไม่เสียหายอะไรที่เราจะลองดู คิดว่าสุดท้ายถ้าไม่ได้ทำงานด้านสถาปัตย์ ก็ไม่เป็นไรเพราะอย่างน้อยเราก็ได้ลองแล้ว

 

เพราะฉะนั้นในช่วงหางาน เรื่องความรู้ท้อต้องมีอยู่แล้ว เรามักจะเกิดคำถามขึ้นมากับตัวเองตลอดว่า ทำไมถึงไม่มีใครติดต่อกลับมาซักที” จนเราเริ่มรู้สึกท้อ แต่เนลจัดการด้วยการพยายามไม่กดดันตนเอง ให้กำลังใจตัวเองว่าเราตั้งใจและทำดีที่สุดแล้ว ให้ระยะเวลากับการหางานและรอสัมภาษณ์งาน ที่สำคัญต้องมีแผนสำรองไว้ ถ้าไม่ด้านงานที่อยากได้ ภายในเวลาที่เราวางแผนไว้ เรายังมีแผนสำรองว่าเราจะทำอะไรต่อ หรือหางานอื่นที่เราคิดว่าเราพอจะทำได้ 

 

มีอะไรจะฝากถึงน้องๆ ที่ตั้งใจหางานกันอยู่บ้าง?
เนลเชื่อว่า น้องๆทุกคนมีความสามารถที่จำเพาะของตนเอง เพราะฉะนั้นน้องๆอยากได้งานแบบไหน อยากทำงานอะไร ชอบอะไร และมั่นใจว่าเราทำได้ ดึงความสามารถของตัวเองออกมา แล้วลงมือทำ ที่สำคัญอย่าดูถูกตัวเองและกลัวที่จะลองทำอะไรที่ใหม่ๆ