เรียนต่อ Australia
พูดถึงการเรียนต่อใน Australia หลายๆคนก็สับสนว่าจะเรียนอะไรยังไงดี มันมีกี่ระดับอะไรบ้าง ซึ่งถ้าจะอธิบายทั้งหมดจริงๆก็คงจะไม่ไหวเพราะมีรายละเอียดยิบย่อยเยอะมาก ดังนั้นจึงขอเน้นเลือกไปที่คอร์สหลักๆที่เด็กนักเรียนไทยนิยมเรียนกันในออสเตรเลียนะครับ
ภาษาที่ผมใช้เขียนจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ และไม่เป็นวิชาการนักครับ แต่เนื่องด้วยบางครั้งมันจะมีพวกคำศัพท์ที่ใช้บ่อยๆและบางทีไม่รู้จะแปลยังให้สละสลวย ถ้าติดไทยคำอังกฤษคำไปบ้างต้องขออภัยด้วยครับ
มาเริ่มกันดีกว่า โดยหลักๆแล้วคอร์สที่เด็กนักเรียนไทยมาเรียนกันจำแนกได้เป็น 3 ประเภทครับ คือ
1) เรียนภาษา
2)เรียนต่อระดับวิชาชีพ (Diploma)
3) เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย (Higher Education)
ซึ่งแต่ละแบบก็จะสามารถจำแนกแตกย่อยลงไปได้อีก ยาวพอสมควรดังนั้นผมจึงขอแยกบทความนี้เป็นสามตอนตามประเภทของคอร์สเรียนครับโดยให้คลิกไปที่แต่ละคอร์สได้เลยครับ
เรียนต่อออสเตรเลีย - เรียนภาษา หรือ เรียน ELICOS
การเรียน ELICOS หรื อที่เราเรียกกันว่าเรียนภาษาก็คือการเรียนคอร์สภาษาอังกฤษสำหรับคนที่อยาก พัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษหรืออาจจะมีเป้าหมายในการ เรียนต่อออสเตรเลีย ในระดับอื่นๆที่สูงขึ้น เช่น ต้องสอบ IELTS ให้ได้ 6.5 หรือ ต้องการเข้ามหาวิทยาลัย โดยการเรียน Direct Entry ที่ออสเตรเลีย (เรียนภาษาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยโดยที่ไม่ต้องการสอบ IELTS หากสอบผ่านจากสถาบันที่มหาวิทยาลัยนั้นๆยอมรับ) ครับ โดยรวมก็คือคอร์สที่เป็นการพัฒนาภาษาให้กับนักเรียนโดยไม่ได้สอนเนื้อหา อย่างอื่นเป็นหลักนั่นเอง
คอร์สเรียนภาษาในออสเตรเลียมีมากมายหลายแบบตามแต่ความต้องการของผู้เรียน ในที่นี้ผมจะจำแนกคอร์สเรียนภาษาตามประเภทของคอร์สเรียนภาษาที่เค้านิยมกัน นะครับ
a. General English หรือ GE
เป็นคอร์สเรียนภาษาแบบทั่วๆไป เหมาะกับคนที่ต้องการพัฒนาภาษา หรืออาจจะอยากปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการเรียนต่อออสเตรเลีย ในระดับอื่นๆ
สำหรับการเรียน General English ถือว่าเป็นคอร์สที่เครียดน้อยที่สุดและเป็นที่นิยมที่สุดในหมู่เด็กนักเรียน ที่มาเรียนภาษาทั้งไทยและต่างชาติ เพราะไม่ได้มีข้อกำหนดแรกเข้าอะไร (ยกเว้นมีเงินจ่ายค่าเรียนกับมี Passport) อีกทั้งยังเรียนค่อนข้างสบาย เล่นเกมส์บ้าง เรียนแกรมมาบ้างว่ากันไป
การ เรียน GE จะแบ่งนักเรียนตามระดับของภาษาของแต่ละคน แต่ละโรงเรียนจะไล่ระดับ แตกต่างกันไปประมาณ 6-7 ระดับ โดยจะเริ่มเรียนจากง่ายไปยาก อาทิเช่น
- beginner
- elementary
- pre-intermediate
- intermediate
- upper-intermediate
- advanced
การเรียน GE จะค่อนข้างจะยืดหยุ่นกว่าคอร์สเรียนแบบอื่น คือเริ่มเรียนได้ทุกวันจันทร์ และค่าเรียนจะอยู่ประมาณ 150-250 AUD ต่อสัปดาห์ ตามแต่คุณภาพของรร.ครับ
เมื่อเริ่มเรียนได้ทุกวันจันทร์ ก็จะเกิดคำถามตามมาว่า อ้าว แล้วแบบนี้จะไปเรียนทันเพื่อนเหรอคะถ้าเพื่อนเรียนไปก่อนเราตั้งสามอาทิตย์ แล้ว – คำตอบคือทันครับ เมื่อ เราไปเรียนภาษาแบบ GE นี้ วันแรกที่ไปถึงโรงเรียน เค้าจะจัดให้มีการสอบวัดระดับ ดูว่าเราควรจะไปอยุ่ในชั้นไหน โดยเพื่อนๆที่จะได้มาเรียนกับเราก็จะเป็นคนที่มีภาษาระดับใกล้เคียงกัน หลักสูตรของ GE ทั่วไปจะวนเป็น Loop ครับ คือไม่ได้แปลว่าเราต้องเรียนให้ครบเราถึงจบได้ แต่เรียนเพื่อให้เค้ารู้ว่าระดับเราสูงพอที่จะขึ้นไประดับถัดไปได้ อย่างที่บอกไปแล้วว่าเราจะเรียนกับเพื่อนที่ภาษาใกล้ๆกัน ดังนั้นไม่เสมอไปที่คนที่เข้ามาก่อนจะขึ้นไประดับถัดไปได้ก่อนเพราะแต่ละคน มีความไวในการพัฒนาไม่เท่ากัน
นอกจากนี้การเรียน GE ก็ยังเหมาะสำหรับคนที่ตั้งใจที่จะเรียนต่อในระดับวิชาชีพ ซึ่ง Australia เรียกกันว่า VET – Vocational Education and Training ( หรือ ปสช. ปวส. บ้านเรานี่เอง) ซึ่งเด็กที่นี่เรียกกันย่อๆว่าเรียน Dip ครับ (ย่อมาจาก Diploma)
โดยทั่วไปแล้ว การจะเรียน Dip ได้นั้นจะต้องผ่านข้อกำหนดสองอย่างคือ จบม.ปลาย และมีผล IELTS 5.5 หรือมีผลภาษาจากรร.ภาษาที่ออสเตรเลียในระดับที่เค้าต้องการ (โดยทั่วไปจะเทียบ Upper-intermediate อยู่ที่ 5.5 – อย่างไรก็ตาม ถ้าเราอยากทราบว่าโรงเรียนที่เราจะไปเรียน Dip นั้นเค้าต้องการผลภาษาระดับใด ก็ตามต้องตรวจสอบกับโรงเรียนนั้นๆอีกทีครับ)
b. Academic English / Direct Entry /Direct Pathway
เป็นคอร์สที่ถูกออกแบบไว้สำหรับคนที่ต้องการเรียนต่อออสเตรเลียในระดับมหาวิทยาลัย (หรือในระดับวิชาชีพก็สามารถเรียนได้)
ในที่นี้จะพูดถึงการเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยครับ
ก่อนอื่นมาดูภาพกว้างๆกันก่อนครับ
ในออสเตรเลีย ถ้าเราจะเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ เราต้องผ่านข้อกำหนดที่เค้าต้องการสองด้านหลักๆคือ
1) ด้าน Academic – หมายถึงผลการเรียน เช่นเกรดปริญญาตรี 2.5 ขึ้นไป หรือบางที่อาจบอกว่าต้องมีประสบการณ์การทำงาน 2 ปี เป็นต้น
2) ด้านภาษา – ในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยในออสเตรเลียมักกำหนดให้เราต้องมีมี IELTS 6.0-7.0 แล้วแต่คอร์สที่เราจะเรียนครับ (เรียนด้าน Linguistics กะต้องการให้เรามีพื้นฐานภาษาดีกว่าเรียน Business เป็นต้น)
ในด้าน Academic นี่แล้วแต่บุญทำกรรมแต่งใครตั้งใจเรียนมาตอนเด็กๆก็เลือกมหาวิทยาลัยที่ดัง แรงค์ดีกว่าได้ แต่ถ้าไม่ตั้งใจมาก ตัวเลือกที่เลือกได้ก็จะลดลง
เพื่อให้ผ่านในส่วนของข้อกำหนดทางด้านภาษา ทุกคนก็มี 2 ตัวเลือกหลักๆครับ
อย่างแรกคือสอบ IELTS ให้ผ่านซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็วและประหยัดที่สุด แต่อาจจะยากนิดถ้าพื้นฐานเราไม่ดีนัก ต้องอาศัยความพยายามากสักหน่อย (อย่างไรก็ตามผมแนะนำให้คนที่จะมาเรียนต่อไม่ว่าในระดับใด ลองสอบไว้สักครั้งจะได้รู้ระดับความสามารถภาษาอังกฤษของตนเอง อีกทั้งยังเป็นการง่ายกว่าสำหรับมหาวิทยาลัย.ที่จะบอกได้ว่าเราควรจะเรียน สักกี่สัปดาห์ถึงจะได้มีระดับภาษาตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ)
และอย่างที่สองสำหรับคนที่อยากเตรียมพร้อมเพื่อเรียนในมหาวิทยาลัยและไม่ อยากสอบ IELTS หรือมีผล IELTS แล้วแต่ไม่เคยเรียนในต่างประเทศเลยอยากเตรียมพร้อมก่อน คอร์สแบบที่สองนี้เรียกกันว่า Direct Entry หรือ EAP(English for Academic Purpose) ครับ (บางที่ก็เรียก AE (Academic English))
การเรียนภาษาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยแบ่งได้อีกเป็น 2 แบบตามประเภทของโรงเรียน คือ
- เรียน EAP : การเรียน EAP คือการเรียนภาษากับสถาบันภาษาเอกชนที่ได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัย ที่เราต้องการไปเรียน
ราคาค่าเรียนต่อสัปดาห์โดยทั่วไปจะสูงกว่า จะอยู่ที่ตั้งแต่ 180-300 AUD แตกต่างกันไปตามคุณภาพของรร.ภาษาที่เราไปเรียน (รร.ที่มีโปรแกรมนี้แต่ราคาถูกก็อาจจะมีข้อจำกัดว่าเข้าได้แค่มหาวิทยาลัย บางที่เท่านั้น แต่ถ้าเราเรียนพวกที่มีราคาสูงกว่า เราก็อาจจะมีตัวเลือกของมหาวิทยาลัยมากกว่าครับ)
ข้อดีของการเรียน EAP คือเข้ามหาวิทยาลัยได้ (ไม่ต่างกับการเรียนภาษากับศูนย์ภาษาของมหาวิทยาลัย) และค่าใช้จ่ายถูกกว่าการเรียนภาษากับมหาวิทยาลัยโดยตรง มากพอสมควรหาก ข้อเสียคืออาจจะเข้ามหาวิทยาลัย บางที่ที่ดังมากๆ ไม่ได้เพราะเค้าไม่รับ ไม่มี contract ใดๆกับรร.ภาษา เพราะต้องการให้เด็กมาเรียนภาษากับตัวมหาวิทยาลัยเองโดยตรง
การเลือกเรียน EAP เราควรจะเลือกมหาวิทยาลัยได้ก่อนที่จะเริ่มเรียน EAP เพราะจะได้เลือกรร.ภาษาที่มี contract กับมหาวิทยาลัยที่เราต้องการไปเรียนครับ (หรือถ้ายังเลือกไม่ได้ก็ควรจะเรียนกับสถาบันภาษาที่สามารถเลือกได้หลายที่ กว่าหน่อย จะได้มาดูมาเห็นด้วยตัวเองด้วยว่าชอบที่ไหน)
- เรียน Direct Entry กับ มหาวิทยาลัยนั้นๆโดยตรง : คอร์สเหล่านี้เป็นคอร์สที่มหาวิทยาลัยที่เราจะเรียนจัดขึ้นในสถาบันภาษาของ เค้าสำหรับนักเรียนที่มีผล IELTS ไม่ถึงเกณฑ์ที่เค้ากำหนด
ข้อดีคือ เนื่องจากมหาวิทยาลัยที่ดังมากๆในออสเตรเลีย( เช่น UNSW , USYD, ANU) จะไม่รับผลภาษาจากรร.ภาษาเอกชน ดังนั้นถ้าไม่มีผล IELTS หรือมีแต่ไม่ถึงเกณฑ์ที่เค้าต้องการ แล้วเราเรียนคอร์สนี้ผ่านเราก็สามารถเริ่มเรียนในมหาวิทยาลัย ที่เราต้องการได้เลย
อย่างไรก็ตามข้อเสียก็คือโปรแกรมแบบนี้แพงหูฉี่ ราคาทั่วๆไปจะอยู่ที่ราวๆ 400 AUD /wk เลยทีเดียว
นอกจากนั้นสมมติเราเรียนภาษา Direct Entry จบจากมหาวิทยาลัยที่นึงเพราะตอนแรกกะว่าจะเรียนที่นี่ ถ้าเกิดเราเปลี่ยนใจอยากเรียนที่มหาวิทยาลัยอื่นก็ไม่ได้แปลว่าเค้าจะยอมรับ ผลภาษาจากที่ที่เราเรียนมา เราก็อาจต้องไปเสียเงินสอบ IELTS หรือเรียนภาษาเพิ่มเติมกันอีกทั้งๆที่เรียนมาแล้ว ดังนั้นเวลาจะเลือกขอให้เลือกดีๆกันนะครับ
ผมเชื่อว่าเรียนภาษาในมหาวิทยาลัยนั้น ต้องดีอยู่แล้ว แต่จากที่เห็นเด็กจบทั้งสองแบบมา ผมว่าก็ไม่ได้มีคุณภาพต่างอะไรกันมากมายขนาดนั้นอยู่ที่ความตั้งใจของแต่ละ คนมากกว่าว่าตั้งใจขนาดไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและกำลังทรัพย์ของแต่ละท่านครับ :)
**การ เรียน EAP และ Direct Entry มักจะมีกำหนดเวลาเริ่มเรียนที่แน่นอน ดังนั้นการจะลงเรียนต้องวางแผนดีๆเพื่อให้ตรงกับเทอมที่เปิดให้เรียน (intake) ของมหาวิทยาลัย ที่เราจะเรียนด้วยครับ**
** การเรียนทั้งสองแบบนี้ ต้องเรียนให้ผ่านด้วยนะครับ ไม่ใช่จ่ายเงินเข้าไปเรียนแล้ว เรียนไปเรื่อยๆจะได้เข้ามหาวิทยาลัยที่เราใฝ่ฝัน ต้องพยายามกันหนักอยู่พอสมควรเพราะคอร์สพวกนี้เรียนแบบเข้มข้นและค่อนข้าง ซีเรียสมากครับ รายงานเยอะ การบ้านเยอะ ต้องหาข้อมูลเยอะ**
** การเรียนคอร์สเหล่านี้เนื่องจากมีความเป็น academic สูง จึงมักมี entry requirement ด้วย เช่น IELTS 4.5 เรียน Level 1 , IELTS 5.5 เรียน Level 2 และ IELTS 6.0 เรียน Level 3 เป็นต้น**
c. IELTS / Cambridge
เป็นการเรียนภาษาเตรียมความพร้อมเพื่อทำข้อสอบเฉพาะชุด ไม่ว่าจะเป็น IELTS หรือ Cambridge (หรือข้อสอบอื่นๆ เช่น TOEIC แต่ TOEIC นี่จะไม่เห็นเปิดสอนเยอะเท่าในเมืองไทย เพราะอยู่ไปเรื่อยๆก็มักจะทำได้เอง)
โดยหลักๆคอร์สเหล่านี้จะสอนทริคในการทำข้อสอบ เช่น Skimming/Scanning สำหรับ reading , โครงสร้างการเขียน Essay , วิธีการตอบใน Speaking Test และเทคนิคต่างๆว่าทำยังไงให้ทำทัน ทำยังไงให้ทำถูกเยอะสุด หรือเดาถูกเยอะสุด เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเน้นเพื่อให้ทำคะแนนได้สูงๆในเวลาจำกัดโดยเฉพาะครับ
Cambridge เป็น Test อีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใน Europe (แต่ไม่ได้นิยมในไทย) ดังนั้นคอร์ส Cambridge ก็จะมี
เด็ก Europe มาเรียนเยอะกว่าคอร์สอื่นๆสักหน่อย
คอร์ส Cambridge เหมาะกับคนที่ต้องการพัฒนาภาษาแบบจริงจังแต่ไม่ได้มีแผนเรียนต่อ เพราะว่าเอาไปใช้เข้าเรียนต่อไม่ได้ครับ
** เช่นเดียวกับ Course academic อื่นๆ IELTS/Cambridge มักจะมี entry requirement เช่นกันครับ คือต้องมี IELTS ตามที่รร.กำหนดครับ
d. TESOL / TECSOL
คอร์สเรียนสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ
TESOL จะเป็นคอร์สสำหรับสอนคนทั่วไป
TESCOL จะเป็นคอร์สสำหรับผุ้ที่ต้องการสอนเด็กเล็ก
คอร์สเหล่านี้นอกจากฝึกให้เรียนภาษาแบบเป็นแบบแผนแล้ว (เพราะต้องเป็นครู) แล้วยังฝึกให้กล้าแสดงออก ให้มีความมั่นใจอีกด้วย (เพราะต้องพูดหน้าห้องต่อหน้านักเรียนเยอะๆ)
คอร์สสอนภาษาเหล่านี้จะเป็นที่นิยมในหมู่นักเรียนเกาหลีครับ เพราะรัฐบาลเค้ามีนโยบายว่าถ้าจะไปเป็นคุณครูสอนภาษาจะต้องมีใบประกาศจาก ต่างประเทศ จากสถาบันที่ได้รับการรับรอง ซึ่งก็ได้ผลพอสมควรเพราะครูที่กลับไปสอนมีคุณภาพมากขึ้น ลูกเล็กเด็กแดงก็พูดภาษาอังกฤษได้ดีกันมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
เฮ้อ พูดแล้วอยากให้เรารัฐบาลเราเอาจริงเอาจังเรื่องการศึกษาของเด็กๆบ้างนะครับนี่
** เช่นเดียวกับ Course academic อื่นๆ TESOL/TECSOL มักจะมี entry requirement เช่นกันครับ คือต้องมี IELTS ตามที่รร.กำหนดครับ
e.Business English, English + Work , English + Internship และอื่นๆ
คอร์สภาษาที่ปรับเข้ากับความต้องการของนักเรียนเป็นด้านๆไป เช่นบางที่ก็มีโปรแกรมเรียนภาษา + หางานให้ (งานคาเฟ่ทั่วไป ได้เรทเงินตามปกติ – แต่ก็อาจรวมค่าหางานเข้าไปด้วย) หรือ เรียนภาษาบวกฝึกงาน (unpaid internship) เมื่อเรียนจบก็จะได้ฝึกงานกับบ.ใน field ที่เราอยากฝึก โดยเราจะต้องผ่านการสัมภาษณ์เป็นจริงเป็นจังพอสมควรแล้วจึงเข้าไปทำงาน จะเหมาะกับคนที่ต้องการเอา resume ไปต่อยอดที่อื่นเท่านั้น เพราะฝึกงานแบบนี้ไม่ได้เงินได้แต่ประสบการณ์ครับ (ซึ่งหาเองค่อนข้างยาก)
การเรียนภาษายังมีอีกมากมายหลายแบบให้เลือก เช่น English + Surfing ก็ยังมี แต่แบบที่เป็นที่นิยมกันก็ประมาณนี้ครับ
เรียนต่อระดับวิชาชีพ หรือ VET (Vocational Education and Training)
พูดถึงการเรียนแบบนี้ถ้าเทียบกับในเมืองไทยก็เทียบได้กับปวช. (Diploma) และ ปวส.(Advanced Diploma) ครับ โดยที่นี่คนไทยจะเรียกกันติดปากว่า “เรียน Dip” (ซึ่งย่อมาจาก Diploma นั่นเอง) คำว่าเรียน Dip โดยทั่วไปหมายรวมถึงคอร์สในระดับอนุปริญญาหลายระดับ ตั้งแต่ Certificate I-IV , Diploma , Advanced Diploma
(Certificate คือคล้ายๆเป็น ประกาศณียบัตร มี 4 ระดับคือ Certificate I , Certificate II, Certificate III และ Certificate IV)
คอร์สที่เปิดสอนมีหลากหลายมากมายที่เป็นที่นิยมในหมู่เด็กนักเรียนไทย ได้แก่ Business, Tourism , Hospitality (งานบริการ การโรงแรม), Cookery (ทำอาหาร), Patisserie (ทำขนม) เป็นต้น
Entry Requirement โดยทั่วไป :
- จบ Grade 10
- IELTS 5.5 (academic) หรือ มีใบประกาศระดับภาษาอังกฤษว่าภาษาเราอยู่ระดับ Upper Intermediate จากสถาบันภาษาที่ได้รับการยอมรับ
ส่วน ตัวผมว่าแม้การเรียน Dip จะได้รับการแบ่งแยกตามสาขาวิชา ระดับ และระยะเวลาที่เรียน แต่ถ้าจะแบ่งให้เข้าใจง่ายน่าจะดูตามจุดประสงค์มากกว่า
1 เรียนเพราะอยากได้ Skill พิเศษไปประกอบอาชีพใน Australia หรือที่ไทย :
Skill ต่างๆที่พูดถึงนี้ได้แก่ การนวด , การทำอาหาร , ทำขนม , ทำเล็บ , ทำผม , ออกแบบ, ทำ Animation, IT และอื่นๆ ตามแต่ต้องการ
การเรียน Dip ในหมวดนี้ราคาจะสูงหน่อยเพราะเน้นให้เราทำงานได้จริง หรือ Practical Skill ดังนั้นเค้าจึงต้องจ้าง Staff และจัดสถานที่ไว้ให้เราฝึกให้ทำเป็นกันจริงๆ ต้นทุนเลยสูง ราคาขายเลยแพงเป็นธรรมดา
คอร์สเหล่านี้รวมๆถึง Skill ต่างๆ ที่เป็นที่ต้องการของประเทศนี้ซึ่งเมื่อเรียนจบก็จะมีสิทธิ์ขอ Permanent Residency ของที่นี่ได้ (แต่สมัยนี้มันก็ยากเหลือแสน)
2 เรียนขำๆ เน้นทำงานมากกว่า :
แม้จะขัดกับวัตถุประสงค์ของวงการการศึกษาออสเตรเลียไปสักหน่อย แต่ถ้าพูดกันตามตรงผมว่าคอร์สเรียนแบบนี้ดึงดูดให้เด็กนักเรียนต่างชาติมา อยู่ในประเทศนี้เยอะเป็นอันดับต้นๆเลยทีเดียว (และปฏิเสธไม่ได้ว่าเด็กนักเรียนไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น) ซึ่งคอร์สเรียนเหล่านี้มักจะไม่เน้นมากเรื่องความยากของการเรียน ตลอดจนการทำรายงานหากเทียบเท่ากับคอร์สในข้อ 2.1 หรือในระดับมหาวิทยาลัย
คอร์สเหล่านี้มักจะค่อนข้างยืดหยุ่นในเรื่องของตารางเวลาเรียน และราคาก็ไม่สูงนัก (ที่ซิดนีย์นี่ราวๆ 1200-1400 AUD ต่อ 3 เดือน หรือถูกกว่า – ถ้าที่ Melbourne ก็จะแพงกว่านี้หน่อยครับ)
1.3 เรียนเพื่อต่อในมหาวิทยาลัย
คอร์สด้านวิชาชีพบางสาขา เช่น บัญชี และ Business เมื่อเรียนครบจบตามที่เค้ากำหนดไว้ เราสามารถนำวิชาที่เรียนไปแล้วไปขอยกเว้นราชวิชาในระดับปริญญาตรีได้อีก ซึ่งด้วยความที่ว่าคอร์สในระดับนี้ราคาถูกกว่าเรียนปริญญาตรีเยอะพอสมควร ดังนั้นก็จะเป็นที่นิยมสำหรับเด็กที่กะไว้แล้วว่าจะมาเรียนตรีที่นี่ เช่น อาจจะเรียน Diploma ก่อน 2 ปี แล้วไปเรียนตรีอีก 1 ปี เป็นต้น (ซึ่งก็จะประหยัดไปได้หลายพันดอลลาร์)
อย่างไรก็ตามคอร์สแบบนี้ใช้ยกเว้นรายวิชาได้เฉพาะในระดับปริญญาตรีเท่านั้นครับ
เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือ Higher Education / Post Graduate (Research)
จริงๆแล้ว เมื่อเราพูดว่าไปเรียนต่อเมืองนอก เราน่าจะนึกถึงการเรียนประเภทนี้ที่สุด เพราะเป็นการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย การจะเข้ไปเรียนคอร์สในระดับนี้จะยากกว่าระดับอื่นๆพอสมควร เพราะต้องมีความสามารถในเชิงภาษาอังกฤษที่ดีทั้งฟัง พูด อ่าน และ เขียน
โดยเฉพาะเขียนนี่ถือเป็นเรื่องใหญ่พอสมควรหากไม่เคยได้เรียนมาก่อน ก็ต้องปรับตัวกันเยอะ การเรียนต่อในระดับ Higher Education แบ่งเป็นหลายระดับดังต่อไปนี้ครับ
3.1 ) Bachelor Degree : ปริญญาตรี
3.2 ) Graduate Certificate : ประกาศนียบัตรบัณฑิต
3.3 ) Graduate Diploma : อนุปริญญาโท
3.4 ) Master Degree : ปริญญาโท (Course work / Research)
3.5 ) Doctorate Degree : ปริญญาเอก
ระดับที่ 3.1 อาจเรียกอีกแบบว่า Undergraduate หรือ Undergrad และแบบที่ 3.2-3.5 เรียกรวมๆว่า Post Graduate / Post Grad ครับ
การจะเข้าเรียนในคอร์สสุดโหดเหล่านี้ได้เราจะต้องผ่านด่านอรหันต์กันสัก 2-3 ด่าน อันได้แก่
- ระดับภาษา : โดย ทั่วไปแล้วถ้าเป็นระดับปริญญาตรีจะต้องมีผล IELTS Academic ที่ 6.0 หรือเทียบเท่า ในขณะที่ในระดับปริญญาโทจะเป็นที่ IELTS Academic 6.5 (no band less than 6.0) และในบางคณะที่เน้นการใช้ภาษามากๆทางมหาวิทยาลัยก็อาจจะกำหนดให้เราต้องมีผล IELTS สูงถึง ระดับ IELTS 7.0 ก็ได้
- การศึกษา : โดย ทางมหาวิทยาลัยอาจไว้ว่าขั้นต่ำเราต้องจบในระดับไหนมาเพื่อจะสามารถเข้า เรียนต่อในคณะนี้ได้ โดยจะพูดถึงเกรดเฉลี่ยที่เราทำมาแต่เก่าก่อนด้วย
- อื่นๆ : ประสบการณ์ทำงาน , Reference , GMAT เป็นต้น
โดยสรุปก็คือคอร์สเรียนมีให้เลือกมากมายหลากหลาย โดยแต่ละคอร์สก็มีข้อกำหนดในการแลกเข้าต่างๆกันไป หากเราจะเลือกเรียนอะไรก็ให้ถามตัวเองให้ดีก่อนว่า
เป้าหมายคืออะไร เราอยากจะเรียนไปทำไม
ภาษาตอนนี้เราเป็นยังไง ต้องเรียนภาษาเพิ่มมั้ย
งบประมาณเรามีเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายระหว่างเรียนทั้งค่าเรียนและค่ากินอยู่เราจะทำยังไง จะออกเองหรือที่บ้านจะช่วยเท่าไหร่
หลังจากเลือกคอร์สได้แล้วก็จะเป็นขั้นตอนของการสมัคร การชำระเงินค่าเรียน และการขอวีซ่า ซึ่ง คอร์สเรียนที่ต่างๆกันนั้นส่งผลต่อความยากง่ายของการขอวีซ่าด้วยครับ ซึ่งจะอธิบายไว้ในนี้มันก็ยาวเกิน ผมเลยขอแยกไปอีกบทความนะครับ
สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมสำหรับการขอวีซ่านักเรียน
บทความที่เกี่ยวข้อง
เรียนต่อออสเตรเลีย
เรียนภาษา
เรียนต่อระดับวิชาชีพ
เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย
เมื่ออ่านจบหมดทั้ง 3บทความแล้วให้อ่านข้อความต่อไปนี้อีกนิดนึงครับ ( ผมโพสไว้ในช่วงท้ายของ เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย และแหละ แต่เอามาแปะตรงนี้ให้เห็นชัดๆอีกที)
จะเห็นได้ว่าคอร์สเรียนมีให้เลือกมากมายหลากหลาย โดยแต่ละคอร์สก็มีข้อกำหนดในการแลกเข้าต่างๆกันไป หากเราจะเลือกเรียนอะไรก็ให้ถามและตอบตัวเองให้ดีก่อนว่า
หลังจากเลือกคอร์สได้แล้วก็จะเป็นขั้นตอนของการสมัคร การชำระเงินค่าเรียน และการขอวีซ่า ซึ่ง คอร์สเรียนที่ต่างๆกันนั้นส่งผลต่อความยากง่ายของการขอวีซ่าด้วยครับ ซึ่งจะอธิบายไว้ในนี้มันก็ยาวเกิน ผมเลยขอแยกไปอีกบทความนะครับ
สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมสำหรับการขอวีซ่านักเรียน