ข่าวสาร >
2019
May
30
แพทย์ชาวออสเตรเลียค้นพบการผลิต CAR T-Cell ช่วยรักษามะเร็งในเม็ดเลือด
โดย : Adminstrator ( จำนวนผู้เข้าชม 3209 คน )

 

 

     ทีมแพทย์ชาวออสเตรเลียค้นพบวิธีการรักษามะเร็งแบบใหม่ โดยการฉีด CAR T-Cell ให้กับผู้ป่วยเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง

     ในอนาคตผู้ป่วยโรคลูคีเมียอาจจะได้รับการรักษามะเร็งในเม็ดเลือดด้วยวิธีใหม่ ที่แตกต่างจากการรักษาแบบเก่าอย่างการฉายรังสีและใช้เคมีบำบัด

     หลังจากดอกเตอร์ Ken Micklethwaite และทีมแพทย์ได้ทำการทดลองโดยดัดแปลงเซลล์ภูมิคุ้มกันจากตัวของผู้ป่วยเอง ใช้ชื่อว่า CAR T-Cell และฉีดเข้าตัวผู้ป่วย เพื่อให้เซลล์นั้นทำหน้าที่ในการค้นหาเซลล์มะเร็งและกำจัดทิ้ง

     ดอกเตอร์ Ken ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการทดลองนี้ว่า พวกเขานำเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ไม่สามารถตรวจจับมะเร็งและนำมาดัดแปลงโดยการใส่ยีนลงไป เพื่อให้เซลล์เหล่านั้นสามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งและกำจัดทิ้งได้

 


Todd หนึ่งในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับ CAT T-Cell / IMAGE : 60 Minutes 

 

หลักการทำงานของ CAR T-Cell มีดังนี้

-การรักษาจะเริ่มด้วยการนำเซลล์ภูมิคุ้มกันบางส่วนจากผู้ป่วย และนำมาดัดแปลงเซลล์ในห้องแล็ปเพื่อเพิ่มความสามารถของเซลล์

-หน้าที่ของ T-cell จะทำการตรวจหาเซลล์แปลกปลอมและกำจัดทิ้ง

-เซลล์ภูมิคุ้มกันที่ได้รับการดัดแปลงแล้วจะถูกฉีดกลับเข้าสู่ตัวผู้ป่วยเพียงแค่ครั้งเดียว ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นประมาณหนึ่งเดือน

-ผู้ป่วยบางคนที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้มีอาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

-จนถึงตอนนี้การรักษายังได้ผลแค่กับมะเร็งในเลือด และกำลังทำการทดลองเพื่อใช้กับมะเร็งประเภทอื่นๆต่อไป เช่น มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม

 

     หลังจากได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทางสหรัฐอเมริกาได้ลองใช้การรักษาด้วยวิธีนี้ และมีอัตราการประสบผลสำเร็จถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์

     Todd O’Shea คือหนึ่งในผู้ป่วยโรคลูคีเมียวัย 19 ปี ที่ทนทุกข์กับอาการป่วยด้วยโรงมะเร็งพร้อมกับอาการปอดติดเชื้อ แม้ว่าจะรักษาด้วยการทำคีโมและปลูกถ่ายไขกระดูกแล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผล เขาจึงได้รับการช่วยเหลือโดยการฉีด CAR T-cell และมีอาการที่ดีขึ้นตามลำดับ

 


Todd O’Shea (ฝั่งขวา) ผู้ป่วยโรคลูคีเมียวัย 19 ปีที่ได้รับการรักษาด้วย CAR T-cell / IMAGE : 60 Minutes

 

     อย่างไรก็ตามการรักษาด้วย CAR T-cell ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง โดยใช้เงินมากถึง 500,000 ดอลลาร์ต่อการรักษา 1 ครั้ง แต่ทางทีมแพทย์กำลังพัฒนาวิธีใหม่ในการผลิต CAR T-cell เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้เหลือเพียง 10,000 ดอลลาร์ต่อการฉีดยา 1 ครั้ง

 

Source : dailymail