อยากเป็นนายหน้าอสังหาฯ ต้องรู้อะไรบ้าง?
First Last ( date 27.03.2023 )
อยากเป็นนายหน้าอสังหาฯ ต้องรู้อะไรบ้าง? ในยุคที่ทุกคนต้องการหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ที่มากขึ้นกว่ารายได้ที่ตนเองเคยได้รับอยู่ อาชีพที่ตอบโจทย์ตอนนี้มากที่สุดและสร้างรายได้มากกว่าอาชีพหลักที่ทำอยู่คงหนีไม่พ้น “นายหน้าอสังหาฯ” เป็นอาชีพที่หลายๆคนอยากเข้ามาทำ แต่ก็มีอีหลายคนที่ยังไม่ทราบว่าการเข้ามาทำอาชีพนี้ต้องรู้อะไรบ้าง? ถึงจะสามารถทำได้และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ วันนี้ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย(TREBS) ก็มีทริคดีๆ ความรู้ดีๆมาอัพเดทให้ผู้อ่านทุกคนได้เข้ามาสร้างความรู้ใหม่ๆเพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ต่อไป ก่อนอื่นเลยนายหน้าอสังหา เป็นอาชีพจับเสือมือเปล่าทำเงินได้เร็ว รวยได้จริง สามารถรับเงินก้อนใหญ่จากการสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ด้วยผลตอบแทนที่สูงส่วนใหญ่รับกันอยู่ที่ 3% บางเคสอาจถึง10% เช่น หากขายบ้านได้ในราคา 3 ล้านบาทตัวแทนนายหน้าอสังหาจะได้รับผลตอบแทนในจำนวน 90,000บาท และถ้าขายได้ถึง 10 ล้าน จะได้ผลตอบแทนสูงถึง 300,000 บาท ลองคิดดูคราวๆ หากปิดจ๊อบได้ทุกๆ 1-2 เดือน จะมีรายได้มากกว่าพนักงานประจำถึง10เท่าเลย แถมยังใช้เงินทุนอันแสนน้อยนิดอีกตังหาก ซึ่งค่าใช้จ่ายหรือเงินทุนส่วนใหญ่ก็จะหมดไปกับช่องทางการโฆษณา ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ เพื่อติดต่อหาผู้จะซื้อ และมีความเสี่ยงที่ต่ำ ไม่จำเป็นต้องซื้อทรัพย์หรือเป็นเจ้าของทรัพย์เพียงแค่ทำการตลาดเอาทรัพย์ผู้อื่นไปประกาศหาผู้จะซื้อที่มีความต้องการที่ตรงกัน เพียงแค่นี้ก็สร้างรายได้รับเงินล้านกันได้แล้ว ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้หลายคนสนใจที่จะเข้าสู่วงการนี้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงขอนำความรู้สำหรับผู้ที่สนใจใน อาชีพนายหน้าอสังหา ที่จำเป็นต้องรู้ดังนี้ 1. นายหน้าอสังหาฯต้องรู้จักหาทรัพย์มาขาย สิ่งแรกที่ต้องทำคือ หาข้อมูลของทรัพย์เพื่อมาขายสามารถหาได้จากป้ายประกาศ อินเตอร์เน็ต ญาติพี่น้องเพื่อนๆ แต่สำหรับนายหน้ามือใหม่แนะนำให้เริ่มหาจากแหล่งที่ตนเองรู้หรือเชี่ยวชาญเช่นเริ่มจากแถวบ้านแถวที่ทำงาน เพราะมีความรู้ความชำนาญในพื้นที่นั้นๆเป็นอย่างดี เริ่มจากทรัพย์เล็กๆก่อนเพื่อฝึกฝนความรู้ความสามารถเมื่อชำนาญแล้วค่อยขยับเริ่มจับทรัพย์ใหญ่ จะว่าไปแล้วด่านนี้ถือเป็นด่านแรกที่วัดใจว่าคุณกล้าพอที่จะเดินในเส้นทางนี้หรือเปล่า เพราะเมื่อหาทรัพย์ได้ต้องยกสายเพื่อตกลงเจรจากับเจ้าของทรัพย์ซึ่งในวงการนายหน้าจะเรียกขั้นนี้ว่า หา Listingอาจต้องลงแรงหน่อยในช่วงแรกเพราะยังไม่มีนักลงทุนที่รู้จักแต่พอทำไปสักพักคุณเริ่มมีเครือข่ายรู้จักนักลงทุนคราวนี้การปิดจ๊อบไม่ยากเลย 2. นายหน้าอสังหาฯต้องรู้จักสร้าง Farming ของตัวเองขึ้นมา คล้ายๆกับการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงขึ้นมาเอง ไม่ควานหาทรัพย์แบบสะเปะสะปะ ไม่จำเป็นต้องกำหนด Farmingให้กว้างหรือไกลเกินไป แต่ควานหาในพื้นที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น เน้นทำเลที่ดีที่สุดเป็นหลัก คุณต้องติดตามสอดส่อง เฝ้าดูความเคลื่อนไหวอสังหาฯ ในย่านที่คุณเจาะจงไว้ทุกๆวัน และต้องทราบด้วยว่าราคาซื้อขายอยู่ในวงเงินเท่าไร โซนที่สนใจมีหมู่บ้านกี่แห่ง ตึกขนาดเท่าไรลักษณะใด มีประกาศขายกี่หลัง ขายอยู่ที่เท่าไหร่ ขายได้จริงเท่าไหร่ ที่ดินเปล่าตารางละเท่าไร ราคาประเมินธนาคารเท่าไร ต้องลงลึกแบบรู้ลึกรู้จริงเพื่อได้ Listมาอย่างประสิทธิภาพ ส่วนการขยายFarm นั้นจะทำเมื่อไรก็ได้ แต่อย่าเกินกำลังตัวเอง หรือเกินความสามารถที่จะดูแลได้ทั่วถึงเพราะความเชื่อถือของลูกค้าอาจลดลงนั้นเอง 3. นายหน้าอสังหาฯต้องรู้จักการทำสัญญาแต่งตั้งนายหน้า สัญญาการแต่งตั้งนายหน้าจะมีด้วยการ 2 แบบบคือแบบเปิดและแบบเปิด แนะนำให้ทำแบบปิดจะดีกว่าแบบเปิดเพราะให้สิทธินายหน้าผู้นั้นเพียงผู้เดียวในการขาย โดยระบุในสัญญาสิ้นสุดเมื่อใด เจ้าของก็ไม่เสียสิทธิ์โอกาสที่จะขายเองให้กับบุคคลที่อยู่นอกรายชื่อนายหน้าอสังหาหรือตัวแทนอีกด้วย ซึ่งทำให้มีแรงจูงใจในการขาย ไม่ต้องกังวลว่าจะแข่งกับใครทำให้กระตือรือร้น แต่ถ้าแบบเปิดจะใช้นายหน้าหลายคนทำหน้าที่พร้อมกันในการขายอาจเพิ่มโอกาสในการขายได้เร็วขึ้น แต่ปิดโอกาสไม่ให้เจ้าของอสังหาฯ ขายด้วยตนเอง และไม่จำกัดเวลาต่ออายุไปเรื่อย ทำให้ไม่ค่อยมีนายหน้าอสังหาคนไหนทุ่มกับการขายให้กับสัญญาลักษณะนี้ 4. นายหน้าอสังหาฯต้องมีช่องทางทำการตลาด การจะเป็นนายหน้าอสังหาที่ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีไอเดียในการขาย รู้จักพลิกแพลง มีการเจรจาต่อรอง สามารถบอกข้อดีข้อเสียทำตัวให้น่าเชื่อถือได้ รวมถึงเลือกใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ไม่ว่าสื่อออนไลน์หรือออฟไลน์ ป้ายติดประกาศในย่านชุมชนนั้น หรือในเว๊ปไซต์ที่ประกาศซื้อขายบ้าน รวมถึงใช่ช่องทางโซเชียลเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย 5. นายหน้าอสังหาฯต้องมีความรู้ด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน นายหน้าอสังหาจำเป็นต้องมีความรู้ เพื่อยื่นกู้ขอสินเชื่อให้กับลูกค้า(ผู้ซื้อ) เพราะการปล่อยสินเชื่อแต่ละสถาบันการเงินจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่าจะเลือกธนาคารไหนก็ได้ นายหน้าอสังหาต้องมีความรู้ข้อมูลของแต่ละธนาคารเบื้องต้น เช่น ลูกค้ากลุ่มข้าราชการหากขอสินเชื่อกลุ่มแบงค์ของรัฐจะปล่อยออกได้ง่าย เช่นกรุงไทย ออมสิน ธ.ก.ส เพราะส่วนใหญ่ราชการจะมีดิวพิเศษกับหน่วยงานข้าราชการนั้นๆ อยู่แล้ว ดอกเบี้ยต่ำวงเงินสูง แต่ถ้าลูกค้าฟรีแลนซ์ต้องพิจารณาจากเงินสดส่วนใหญ่นำเข้าธนาคารไหน เพราะแบงค์จะพิจารณาประวัติการเงิน ยึดจากเอกสาร statement เงื่อนไขแต่ละแบงค์จะแตกต่างกัน นายหน้าจำเป็นต้องคัดกรองเบื่องต้นแล้วค่อยส่งไปให้ถูกแต่ละแบงค์เพื่อง่ายต่อลูกค้า สะดวกทำให้ปิดจ๊อบได้เร็ว 6. นายหน้าอสังหาฯต้องรู้จักข้อกฎหมายขั้นตอนการทำธุรกรรมสำนักงานที่ดิน พวกเอกสารต่างๆ บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน รวมถึงค่าธรรมเนียมการเสียภาษีต่างๆ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายซึ่งใช้ราคาประเมินจากกรมที่ดินเป็นเกณฑ์ ภาษีธุรกิจเฉพาะที่ผู้ขายต้องเสีย ถ้าถือครองไม่ถึง 5ปี หรือโอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปีต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% รวมถึงอากรแสตมป์และค่าธรรมเนียมในการโอนควรมีความรู้เบื้องต้นเพื่อแจ้งให้ลูกค้าเตรียมไว้ ทั้งหมดจากทั้ง 6 ข้อ เป็นความรู้เบื้องต้นที่เหล่านายหน้าอสังหาฯทุกคนต้องมีติดตัว และในแง่ของการทำงานจริงอาจจะต้องอาศัยไหวพริบความรู้เฉพาะทาง ความรู้รอบตัวหลายๆอย่างมาประยุกต์ใช้ เพื่อก้าวสู่การเป็นนายหน้าอสังหาฯมืออาชีพ และยังสามารถสร้างรายได้มหาศาลจากงานนี้ พร้อมเสริมสร้างความหน้าเชื่อถือด้วยการสอบบัตรตัวแทนนายหน้าอสังหาฯ จากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย อีกด้วยดังนั้นโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นฐานที่นายหน้ามือใหม่ควรจะมี พร้อมตระหนักว่าความหน้าเชื่อถือของการทำอาชีพนี้มีความสำคัญอย่างมากจึงทำให้เกิด หลักสูตร นายหน้าอสังหาฯ เพื่อสอบบัตรตัวแทนนายหน้า (RE131) ขึ้นเพื่อช่วยผู้ที่สนใจและพึ่งเริ่มทำได้มีความรู้ ความเข้าใจและสร้างความน่าเชื่อถือไปพร้อมๆกับอัตลักษณ์ในการทำงานที่ดีในด้านนี้ สนใจติดต่อและสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร: 02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย) ID: @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/@trebs ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.taokaemai.com [Tag] : นายหน้า , นายหน้าอสังหาฯ , นายหน้าขายที่ , นายหน้าขายบ้าน , นายหน้ามืออาชีพ , อาชีพนายหน้า , นายหน้าอสังหาฯ , นายหน้าอสังหาริมทรัพย์

- ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์
- โปรดงดเว้นการใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย หมิ่นประมาท หรือสร้างความแตกแยกในสังคม
- ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของสังคม
- ไม่อนุญาตให้โฆษณาขายสินค้าหรือเผยแพร่ธุรกิจจำพวกธุรกิจเครือข่าย หรือ MLM
- ทุกความคิดเห็นและการตั้งกระทู้ถูกส่งขึ้นระบบ Webboard โดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่งทางเว็บไซต์มิได้มีส่วนตรวจสอบหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น
  ดังนั้น ความคิดเห็นของสมาชิกจึงไม่เกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการเว็บไซต์และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
- ทีมงานเว็บมาสเตอร์ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น