ภาษีมรดกเสียเท่าไหร่ ประเภทสินทรัพย์ไหนต้องเสียบ้าง
รู้ก่อนรับ "ภาษี มรดก" แจกแจง 5 ประเภททรัพย์สินมรดกที่ต้องจ่ายภาษี ตาม
พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พร้อมวิธีคำนวณฉบับเข้าใจง่าย ที่นี่! ภาษี มรดก เรื่องที่ผู้มีเกณฑ์จะได้รับมรดก ควรศึกษาและทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 เพื่อรักษาผลประโยชน์
ของตนเอง และไม่เข้าใจผิดจนต้องเสียภาษีทั้งที่ไม่จำเป็น
กรณีใดบ้างที่ต้องเสีย ภาษี มรดก
กรณีใดบ้างที่ได้รับการ ยกเว้น ภาษี
วิธีการ คำนวณ ภาษี มรดก
ภาษีมรดกเสียเท่าไหร่ ประเภทสินทรัพย์ไหนต้องเสียบ้าง
กรณีใดบ้างที่ต้องเสีย ภาษี มรดก
ภาษีมรดกยังคงความหมายภาษีมรดกไว้ว่า เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท มีชื่อเรียกแบบเต็มว่า ภาษีการรับมรดก โดยทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีมีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านหรือที่ดิน
หลักทรัพย์ เช่น ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตร
เงินฝาก
ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน เช่น รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์
ทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ (หากแต่มีการประกาศเพิ่มในอนาคต)
อัตราค่าเก็บภาษีมรดกแบ่งออกเป็น 5% และ 10% ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรตั้งไว้ ดังนี้
บุคคลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือด เสียภาษี 10%
พ่อแม่ เสียภาษี 5%
ปู่ ย่า ตา ยาย เสียภาษี 5%
ผู้สืบสันดาน เสียภาษี 5%
กรณีใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษี
กรณีที่ผู้ได้รับมรดกเป็นสามีหรือภรรยาของผู้ให้มรดก และได้มีการจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้นั้นจะได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีมรดก
หากยกมรดกให้กับหน่วยงานของรัฐ มรดกนั้นจะได้รับการยกเว้นภาษี
วิธีการคำนวณภาษีมรดก
หลักการคำนวณภาษีไม่ได้มีความซับซ้อนอย่างที่คิด และสามารถคำนวณได้ด้วยตนเอง ดูตัวอย่างการคำนวณอัตราภาษีมรดกที่ดินในแบบ 5% และ 10% เพื่อความเข้าใจมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 1 คำนวณหามูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี
สูตร มูลค่ามรดกสุทธิ – 100 ล้านบาท* = มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี
ตัวอย่าง
นาง ก. ผู้ซึ่งเป็นมารดาของเจ้าของมรดก ได้รับมรดกเป็นที่ดินมูลค่าสุทธิ 150 ล้านบาท โดยที่เจ้าของมรดกไม่มีหนี้สินใด ๆ มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี คือ 150,000,000 – 100,000,0000 = 50,000,000 บาท
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณหาภาษีมรดก
สูตร มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีคงที่ 5% = ภาษีมรดก
ตัวอย่าง
จากมูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษีของนาง ก. คือ 50 ล้านบาท นาง ก. ต้องเสียภาษีมรดกอัตราคงที่ 5% จะเท่ากับ 50,000,000 x 5% = 2,500,000 บาท
สรุปได้ว่า นาง ก. จะต้องเสียภาษีมรดกเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2 ล้าน 5 แสนบาท
การคำนวณภาษีมรดกในอัตราคงที่ 10% สำหรับบุคคลทั่วไป
ขั้นตอนที่ 1 คำนวณหามูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี
สูตร มูลค่ามรดกสุทธิ – 100 ล้านบาท* = มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี
*มูลค่ามรดกที่ไม่ต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก
ตัวอย่าง
นาย ข. ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับเจ้าของมรดก ได้รับมรดกเป็นที่ดินมูลค่าสุทธิ 150 ล้านบาท โดยที่เจ้าของมรดกไม่มีหนี้สินใด ๆ มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี คือ 150,000,000 – 100,000,0000 = 50,000,000 บาท
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณหาภาษี มรดก
สูตร มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีคงที่ 10% = ภาษีมรดก
ตัวอย่าง
จากมูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษีของนาย ข. คือ 50 ล้านบาท นาย ข. ต้องเสียภาษีมรดกอัตราคงที่ 10% จะเท่ากับ 50,000,000 x 10% = 5,000,000 บาท
สรุปได้ว่า นาย ข. จะต้องเสียภาษีมรดกเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5 ล้านบาทการชำระภาษีมรดก
ดังนั้นเรื่องการเสียภาษีมรดก เป็นเรื่องที่ผู้มีเกณฑ์จะได้รับมรดก ควรศึกษาและทำความเข้าใจ
พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และไม่เข้าใจผิดจนต้องเสียภาษีทั้งที่ไม่จำเป็น แต่ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการเสียภาษีมรดกเท่านั้น โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย สถาบันอบรมด้านอสังหาฯ ระดับนานาชาติ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการวางแผนภาษีด้วย จึงได้เปิดหลักสูตร การวางแผนภาษีและการจัดทำบัญชีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (RE151) ขึ้นมาเพื่อหวังว่าจะเป็นตัวช่วยให้กับผู้ที่สนใจการวางแผนภาษี และนักบัญชีได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้
สามารถติดต่อและสอบถามบริการ TREBS (อบรม-สัมมนา) และ AREA (ประเมิน-วิจัย)
โทร: 02-295-3905 ต่อ 114
Email: info@trebs.ac.th
Line ID : @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e
ขอขอบคุณ: ddpropert